เอกสารที่เกี่ยวข้อง



การทำโครงการในครั้งนี้  ผู้ศึกษาได้ค้นคว้าเอกสารดังต่อไปนี้
1.      ภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.      อาหารพื้นบ้าน
3.      ต้นสะทอน

1.  ภูมิปัญญาท้องถิ่น
               
ภูมิ                            หมายถึง     พื้น ชั้น พื้นเพ
                ปัญญา                       หมายถึง     ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาดเกิดแต่การเรียนและคิด
                ภูมิปัญญา                  หมายถึง     พื้นความรู้ ความสามารถ
                ภูมิปัญญาท้องถิ่น      หมายถึง    ความสามารถในการใช้พื้นความรู้สร้างสรรค์งานเพื่อพัฒนาและดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น
                การถ่ายทอดความรู้ หรือ การสอน   หมายถึง  บอกวิชาความรู้ให้แสดงเข้าใจโดยวิธีบอกหรือทำให้เห็นเป็นตัวอย่างเพื่อให้รู้ดีรู้ชั่ว
         
ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Local wisdom) ปัจจุบันยังไม่มีผู้ใดให้ความหมายไว้อย่างชัดเจนแต่พอทำความเข้าใจได้ดังนี้ หมายถึง ความรู้หรือประสบการณ์ดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาจากบรรพบุรุษหรือถ่ายทอดต่อกันจากสถาบันต่างๆ ในชุมชน เช่น จากสถาบันครอบครัว สถาบันความเชื่อและศาสนา สถาบันการเมืองการปกครอง สถาบันเศรษฐกิจ และสถาบันทางสังคมอื่น ๆ นอกจากนี้ กรมการศึกษานอกโรงเรียนให้ความหมายคำว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านนั้นเป็นการเชื่อมโยงไปถึงความรู้ประสบการณ์ตรงของคนในท้องถิ่น ที่ได้จากการสะสมประสบการณ์จากการทำงาน การประกอบอาชีพและการเรียนรู้จากธรรมชาติแวดล้อมต่างๆ ในการสัมมนาทางวิชาการ โดยศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏสุรินทร์ ในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นและการสร้างเครือข่าย นั้นได้ให้คำจำกัดความของคำว่า
          ภูมิปัญญาท้องถิ่น หรือภูมิปัญญาชาวบ้าน (Local wisdom หรือ popular wisdom) คือพื้นฐานของความรู้ของชาวบ้านหรือคือความรอบรู้ของชาวบ้านที่เรียนรู้และมีประสบการณ์สืบต่อกันมาทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งเรียนรู้จากผู้ใหญ่หรือที่เป็นความรู้สะสมสืบต่อกันมา
สาขาของภูมิปัญญาท้องถิ่น
                ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ บุคคลผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ในการทำงานนั้นๆมาอย่างมากมาย ความรู้ดังกล่าวเป็นความรู้ที่นำมาปฏิบัติ มีผลผลิตที่เป็นรูปธรรม เป็นความรู้ที่มีความสำคัญในการดำรงชีวิตของคนในท้องถิ่น ความรู้ ความสามารถดังกล่าว เป็นสิ่งที่สะสมมานาน เป็นโครงสร้างความรู้ที่มีหลักการ มีเหตุผลในตัวเองที่น่าศึกษา ควรอนุรักษ์และสืบทอด

                ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น นั้นมีอยู่มากมายในท้องถิ่น แต่ละคนต่างมีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ มีผลงานเพื่อ การดำรงชีวิตที่แตกต่างออกไปหลายด้านหลายสาขา ดังนี้
1.  
สาขาเกษตรกรรม
           
คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ประสบการณ์ และมีผลงานด้านการทำไร่ ทำนา เลี้ยงสัตว์ ประมง ทำไร่นาสวนผสม ฯลฯ โดดเด่น เลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้อย่างพอเพียง มีรายได้จากผลผลิตด้านนี้ มีแนวคิดที่ดี แปลกใหม่ที่เป็นประโยชน์และช่วยพัฒนา อาชีพด้านนี้ได้อย่างน่าสนใจ เช่น เป็นผู้คิดริเริ่มการทำการเกษตรแบบผสมผสาน เกษตรแบบพอเพียง เกษตรที่เอื้อประโยชน์ต่อ ชีวิตและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ
2.
สาขาคหกรรม
           
คือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และมีผลงานโดเด่นในเรื่องต่อไปนี้
           2.1   
ด้านอาหาร เป็นต้นตำรับการปรุงอาหารที่มีรสชาติอร่อย ให้คุณค่าด้านโภชนาการ ใช้วัสดุที่มีราคาไม่แพง วัสดุที่หาง่ายในท้องถิ่น รู้จักคิด ดัดแปลงสูตรอาหารได้แปลกใหม่ หรือเป็นผู้ที่สืบสานตำรับตำราที่มีอาหารรสเลิศ สามารถผิตเป็นสินค้าจำหน่ายได้ เช่น การทำปลาร้า การทำส้มหรือแหนม ขนมต่างๆ ฯลฯ
           2.2   
ด้านงานประดิษฐ์เครื่องนุ่งห่ม สามารถทำเป็นอาชีพจำหน่ายได้ สามารถทำเลี้ยงตัวเองและครอบครัวได้ เช่น การทำผ้านวม การตัดเย็บเสื้อผ้า ฯลฯ
           2.3
  ด้านที่อยู่อาศัย สามารถจัดบ้านเรือน บริเวณได้น่าอยู่ น่าอาศัยตามอัตภาพ ทำให้มีสุขภาพอนามัยในการอยู่อาศัย
3.
สาขาศิลปกรรม
           
คือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีผลงานโดดเด่นในเรื่องต่อไปนี้
           3.1
  ด้านจิตรกรรม คือ การวาดภาพฝาผนัง การเขียนภาพลงบนผ้า หน้าผา การสักลาย ฯลฯ
           3.2
  ด้านประติมากรรม คือ ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์และมีฝีมือในการปั้น แกะสลัก การหล่อ เช่น หล่อพระพุทธรูป ปั้นโอ่ง สลักลวดลาย ประดับต้นเทียน สิ่งก่อสร้าง ฯลฯ
           3.3
  ด้านสถาปัตยกรรม คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์เรื่อการก่อสร้างอาคารบ้านเรือน โบสถ์ ศาลา ฯลฯ
           3.4
  ด้านหัตถกรรม (งานช่างฝีมือ) คือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีผลงานในสิ่งที่ทำมือ เช่นเครื่องจักสานต่างๆ
           3.5   
ด้านงานประดิษฐ์ คือ ผู้ที่มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ด้านการจัดทำผลงานเลียนแบบธรรมชาติ เช่น การประดิษฐ์ดอกไม้ บายศรี การแต่งลวดลายบนแผ่นผ้า ฯลฯ
           3.6
  ด้านดนตรี นาฏศิลป์และการเล่นพื้นบ้าน คือผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ด้านการเล่นดนตรี การขับลำ การฟ้อนรำ การคิดวิธีการเล่นพื้นบ้าน หมอลำ การเล่นหนังปราโมทัย ลิเก เพลงกันตรึม เจรียง ฯลฯ
4.
สาขาสาธารณสุข
           
คือ ผู้มีความรู้ ความสามารถมีประสบการณ์ด้านการใช้ยาสมุนไพร การรักษาโรคแผนโบราณ การรักษาสุขภาพอนามัยร่างกาย การสืบสานตำราสมุนไพร หมอนวดแผนโบราณ หมอตำแย ฯลฯ
5.
สาขาภาษาและวรรณกรรม
                คือ ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีประสบการณ์ในการแต่งวรรณกรรมพื้นบ้าน การคิดประดิษฐ์อักษรภาษาถิ่น การสืบสานอักษรโบราณ วรรณกรรมท้องถิ่น ฯลฯ
6.
สาขาศาสนาและประเพณี
           6.1   
ด้านพิธีกรรมต่างๆ ได้แก่ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ มีผลงานเกี่ยวกับการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น หมอสูตรขวัญ
           6.2
  ด้านโหราศาสตร์ ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์และมีผลงานด้านโหราศาสตร์หรือหมอดู ฯลฯ
           6.3
  ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี ได้แก่ ผู้มีความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ในการปฏิบัติตามขนบประเพณีของท้องถิ่นนั้นๆ
           6.4   
ความเชื่อในเรื่องต่างๆ
7.
สาขาอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้

          
ได้แก่ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ ที่พัฒนาขึ้นโดยชาวบ้าน เพื่อใช้งานอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ

2.  อาหารพื้นบ้าน
            อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่ประชาชนบริโภคอยู่ในชีวิตประจำวันและบริโภคในโอกาสต่างๆ โดยอาศัยเครื่องปรุง วัสดุที่นำมาประกอบอาหารจากแหล่งต่างๆ ทั้งจากแหล่งธรรมชาติ ด้วยการเก็บของป่า การล่าสัตว์ การจับสัตว์น้ำ และจากการผลิตขึ้นมาเอง เช่น การเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ หรือจากการซื้อขายแลกเปลี่ยน โดยมีกรรมวิธีทำเป็นเอกลักษณ์ รวมทั้งรสชาติที่เป็นเฉพาะถิ่นแตกต่างกันไป
อาหารพื้นบ้านเป็นอาหารที่บริโภคในชีวิตประจำวันและโอกาสพิเศษ ซึ่งแต่ละท้องถิ่นจะมีการเรียกมื้ออาหารแตกต่างกันไป เช่น ภาคอีสาน เรียกอาหารมื้อเช้าว่า ข้าวงาย มื้อกลางวันเรียกว่า ข้าวสวย มื้อเย็นเรียกว่า ข้าวแลง ส่วนภาคเหนือเรียกอาหารมื้อเช้าว่า ข้าวงาย มื้อกลางวันเรียกว่า    ข้าวตอน มื้อเย็นเรียกว่า ข้าวแลง ในขณะที่ภาคใต้เรียกอาหารมื้อเช้าว่า ข้าวหัวเช้า มื้อกลางวันเรียกว่า ข้าวหวันเที่ยง มื้อเย็นเรียกว่า ข้าวหวันเย็น เป็นต้น สำหรับภาคอื่นไม่แตกต่างเท่าไรนัก และเป็นอาหารที่บริโภคในโอกาสต่าง ๆ เช่น อาหารในช่วงประเพณีทางศาสนา ประเพณีการทำบุญในโอกาสสำคัญ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานแต่งงาน งานบวช และอาหารในช่วงของการเปลี่ยนแปลงของชีวิตหรือยามเจ็บป่วย

3.  ต้นสะทอน
ลักษณะ
ต้นสะทอน หรือ ต้นสะท้อน เป็นพันธุ์ไม้ที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นที่มีอายุยืนนานหลายร้อยปี   เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดไม้ยืนต้น ใบเลี้ยงคู่ ลักษณะของต้นช่วงอายุอ่อนจะมีสีขาว ต้นแก่จะมีสีเขียว ใบมนเรียว ปลายแหลม ใบอ่อนจะมีสีเหลือง ใบแก่มีสีเขียวเข้ม ดอกมีสีขาวอมม่วง ฝักของต้น
สะทอนจะมีสีน้ำตาล มีขนเล็กน้อยลักษณะคล้ายถั่วแปบ แต่ละฝักมีเมล็ดประมาณ
2-3 เมล็ด มักขึ้นเองตามธรรมชาติบริเวณเชิงเขา แต่สามารถขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดและรากปักชำ โดยจะแตกใบอ่อนในช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงเดือนมีนาคม ซึ่งชาวบ้านนิยมนำใบอ่อนมาหมักเป็น       น้ำปรุงรส เพราะมีรสชาติดีกว่าใช้ใบแก่ ส่วนมากต้นสะทอนจะขึ้นบริเวณดินร่วนปนทราย             ผักสะทอนแบ่งเป็น 3 ชนิด คือ สะทอนจั่น สะทอนจาน และสะทอนวัว
ชื่อทางวิทยาศาสตร์
Millettia utilis Dunn. วงศ์ PAPILIONACEAE (ศ.ดร.เต็ม สมิตินันทน์, 2544)
คุณค่าทางโภชนาการ
ผักสะทอนมีคุณสมบัติมากมาย อาทิ ป้องกันโรคท้องอืด ท้องเฟ้อ ป้องกันพยาธิ แก้กระษัยเส้น กระษัยลม ซึ่งหากนำมาแปรรูปเป็นน้ำปรุงรสผักสะทอนแล้วจะมีกรดอมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย ได้แก่ ไอโซลูซีน อาร์จินีน ลูซีน ไลซีน เมทิโอนีน เฟนิลอะลานีน ธรีโอนีน ทริปโตแฟน วาลีน      ฮีสทิดีน เป็นต้น  ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีผลวิจัยอีกว่าผักสะทอนนั้น มีสารกันบูดอยู่ในตัวอย่างเอง มีการทดลองโดยเอาไปใส่ในน้ำพริกแจ่วดำ ช่วยยืดอายุน้ำพริกอย่างน้อย 6 เดือน โดยไม่ขึ้นรา ไม่มีเสีย และสารที่ว่านี้ก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย  เป็นต้น  ที่มหาวิทยาลัยมหิดล ยังมีผลวิจัยอีกว่าผักสะทอนนั้น มีสารกันบูดอยู่ในตัวอย่างเอง มีการทดลองโดยเอาไปใส่ในน้ำพริกแจ่วดำ ช่วยยืดอายุน้ำพริกอย่างน้อย 6 เดือน โดยไม่ขึ้นรา ไม่มีเสีย และสารที่ว่านี้ก็ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายอีกด้วย



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น