ประวัติความเป็นมา



ท้องถิ่นแต่ละแห่งต่างมีลักษณะทางธรรมชาติ เช่น ภูเขา แม่น้ำ ความสูงของพื้นที่ และลักษณะทางวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันออกไป  ในความแตกต่างเหล่านั้นมักมีความโดดเด่นที่เป็นสิ่งดีงาม        อัน แสดงถึงลักษณะพิเศษที่ปรากฏให้คนทั่วไปเห็นอย่างเด่นชัด เป็นความโดดเด่นเฉพาะตัวหรือเฉพาะสังคมที่ทำให้ท้องถิ่นนั้นต่างจากท้องถิ่น อื่น ลักษณะเด่นที่ปรากฏทั้งทางธรรมชาติและสังคมวัฒนธรรมนี้ถือเป็นเอกลักษณ์ของ ท้องถิ่นอำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย อำเภอชาติตระการและอำเภอนครไทย จังหวัดพิษณุโลก
ใน บางบริเวณมีอากาศที่หนาวเย็นเกือบตลอดทั้งปี ทำให้บริเวณพื้นที่เหล่านี้มีพืชพันธุ์ไม้ที่หลากหลาย และเป็นพืชที่เกิดเฉพาะท้องถิ่น ผู้คนในท้องถิ่นเหล่านี้จึงมีวัฒนธรรมการกินที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น โดยใช้พืชพันธุ์พื้นบ้านที่เกิดขึ้นในท้องถิ่นมาประกอบอาหารและถนอมเป็น อาหารที่สามารถเก็บไว้รับประทานได้นาน ซึ่งพืชพันธุ์ที่จะกล่าวถึงนี้นั่นก็คือ "ต้นสะท้อน" หรือที่รู้จักกันในชื่อ "สะทอน" เป็นไม้ยืนต้นตระกูลถั่วที่มีอายุยืนหลายร้อยปี ลักษณะทรงพุ่ม โดยจะแตกยอดอ่อนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ชาวบ้านในท้องถิ่นนิยมนำใบมาหมักและเคี่ยว ด้วยกรรมวิธีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษนับร้อยปี เพื่อนำน้ำจากใบสะทอนมาปรุงรสอาหาร เพิ่มรสชาติอาหารให้อร่อย อันเป็นเอกลักษณ์ของชาวบ้านในท้องถิ่นนั้น
น้ำ ปรุงรสจากใบสะทอน เป็นน้ำปรุงรสที่เกิดจากภูมิปัญญาของชาวบ้านในพื้นที่ซึ่งได้จากการนำใบสะ ทอนมาทำการหมักตามกรรมวิธี ให้ได้น้ำปรุงรสที่ใช้แทนน้ำปลาหรือน้ำปลาร้าเนื่องจากบริเวณนี้เป็นพื้นที่ ราบลุ่มภูเขา ไม่มีปลามากเหมือนในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ จึงต้องมีการใช้ภูมิปัญญาในการนำพันธุ์ผักพื้นบ้านมาทำการหมักเป็นน้ำปรุงรส ทดแทน ซึ่งน้ำปรุงรสที่ได้จากการหมักใบสะทอน มีกลิ่นและสีเหมือนน้ำปลามาก จึงถือว่าน้ำปรุงรสจากใบสะทอนเป็นอาหารหมักพื้นบ้านชนิดหนึ่งที่มีการถ่าย ทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
อีก ทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต น้ำปรุงรสผักสะทอน เป็นวัตถุดิบที่มีเฉพาะในท้องถิ่นและเกิดตามฤดูกาล ทำให้มีการผลิตที่ไม่ต่อเนื่อง รวมทั้งยังไม่มีการเผยแพร่ถึงคุณประโยชน์และคุณค่าทางโภชนาการที่มีอยู่มาก มายในน้ำปรุงรสจากผักสะทอนให้เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เหตุผลดังกล่าวทำให้น้ำปรุงรสจากผักสะทอนไม่ค่อยเป็นที่รู้จักและยังไม่ได้ รับความนิยม หากไม่มีการเผยแพร่หรือเก็บรวบรวมองค์ความรู้และพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อให้ ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ น้ำปรุงรสจากผักสะทอนอาจเป็นเพียงตำนานอาหารหมักพื้นบ้านที่คนรุ่นหลังจะ เห็นแค่เพียงในเอกสารหรือการบอกเล่าต่อกันเท่านั้น
                                                                                               
  หมักน้ำสะทอน 







                    ต้มน้ำสะทอน

2 ความคิดเห็น:

  1. แถวหล่มสักจะใช้ใบอ่อนตากแห้งข้ามปีมาหมัก5หรือ7วันแล้วกรองต้มเคี่ยวใส่เกลือและข่าแก่จัด4สว่นเหลือ1ส่วนในการต้มเคี่ยวข่าที่ใด้จะเอาไปทำนำ้พริกกะทอนนอกจากนี้ถ้ายางมะม่วงกัดปากเอานำ้ผักกะทอนทาจะกายแม่ผมทำให้ผมบ่อยตินเด็ก​

    ตอบลบ
  2. พิมพ์​ผิบางขออภัย

    ตอบลบ